1 ทศวรรษทีวีดิจิทัล กสทช.-คนอุตสาหกรรมทีวี รวมพลังครั้งประวัติศาสตร์

Last updated: 29 ส.ค. 2567  |  996 จำนวนผู้เข้าชม  | 

1 ทศวรรษทีวีดิจิทัล กสทช.-คนอุตสาหกรรมทีวี รวมพลังครั้งประวัติศาสตร์

28 สิงหาคม ณ ภิรัช ฮอลล์ ไบเทคบางนา

          กสทช.ผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์กับสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) และทีวีสาธารณะทุกช่อง จัดงาน ”1 ทศวรรษทีวีดิจิทัล ”Beyond the Next Step" วันที่ 28 สิงหาคม 2567 ณ ภิรัช ฮอลล์ 1 ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิก นพ. สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกสทช. กล่าวเปิดงาน และร่วมสนทนาพิเศษ ทีวีดิจิทัล : โทรทัศน์แห่งชาติ ร่วมกับ นายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ. เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ โดยมีนายสุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมเป็นผู้ดำเนินรายการ

 

 

             ศาสตราจารย์คลินิก นพ. สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีความที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางหลังสิ้นสุดใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในปี 2572 การต่อใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการรายเดิมว่าจะเป็นแนวทางใด เนื่องจาก พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ กำหนดไว้ชัดเจนว่าจะต้องมีการประมูลทำให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลส่วนใหญ่มีความกังวล อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมองว่าหลังจากนี้ ทุกฝ่ายจะต้องมีการหารือร่วมกันซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ในปี 2572 จะมีการต่อใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการรายเดิม โดยไม่ต้องมีการประมูล แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะเห็นด้วยกับแนวทางนี้หรือไม่ เพราะการแก้ไขกฎหมายจะต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาด้วย และถือว่าเป็นโอกาสดีที่นับจากนี้ทางสำนักงานกสทช.จะได้ร่วมกันทำงานไปกับสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) เพื่อช่วยกันหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ต่อไป

 



 
                 นายสุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) กล่าวว่า "สำหรับกลุ่มทีวีดิจิทัลภายใต้การกำกับของสำนักงานกสทช. ได้ออกอากาศในระบบดิจิทัลภาคพื้นดินมาเป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2557 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อุตสาหกรรมทีวีได้ผ่านอุปสรรคและความท้าทายมามากมาย เหลือเวลาอีก 5 ปี ซึ่งก็ยังคงไม่มีความชัดเจนเรื่องการต่อใบอนุญาตหลังสิ้นสุดใบอนุญาตในปี2572 อันจะเป็นผลทำให้องค์กรที่ประกอบกิจการโทรทัศน์ไม่สามารถที่จะวางแผนงานสำหรับกิจการในอนาคตได้ อีกทั้งยังมีเรื่องแผนงานของสำนักงานกสทช.ที่จะนำคลื่นความถี่ย่าน 3,500 MHz.เพื่อนำไปประมูลสำหรับใช้ประโยชน์สำหรับกิจการโทรคมนาคม เรื่่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ อันจะส่งผลให้ผู้รับชมผ่านโครงข่ายดาวเทียมได้รับผลกระทบ ซึ่งยิ่งจะทำให้จำนวนคนหรือประชาชนเข้าถึงโทรทันศ์ดิจิทัลน้อยลง

 

         

          นายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์   กล่าวว่า "ตั้งแต่ระบบทีวีดิจิทัลได้เริ่มออกอากาศในปี 2557 ถือเป็นช่วงล้มลุกคลุกคลาน และกว่าจะตั้งตัวกันได้ก็ใช่เวลานาน 4-5 ปี  และเนื่องด้วยภูมิทัศน์สื่อในประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากการเติบโตเทคโนโลยี ทำให้กลุ่มคนดูมีทางเลือกมากมาย และยอมรับว่าปัจจุบันคนดูทีวีลดน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าคนดูคอนเทนต์ลดน้อยลง ทุกคนยังเลือกดูทั้งเนื้อหาข่าวสาร และความบันเทิง แต่อาจจะไปเลือกเลือกดูผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย หรือแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งมีเนื้อหาสาระให้เลือกดูมากมาย อย่างไรก็ตาม ช่องทางที่คนดูจะสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ มีเพียงช่องทางทีวีเท่าทั้น เพราะมีกระบวนการตรวจสอบเนื้อหาและมีความน่าเชื่อถือ ส่วนตัวจึงมองว่า ทีวียังคงมีความสำคัญ ซึ่งในอนาคตที่ใบอนุญาตทีวีดิจิทัลจะหมดอายุในอีกราว 5 ปี หรือช่วง เม.ย. 2572 ส่วนตัวจึงมองว่า หากจะมีการประมูลใหม่ คงไม่มีผู้ประกอบการเข้าประมูล เพราะที่ผ่านมาทุกช่องต้องฝ่าฟันอุปสรรคอย่างมากมาย แต่จะให้ทิ้งคนดูก็คงไม่ได้ จึงเห็นด้วยหาก กสทช.จะต่อใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการเดิม โดยไม่ต้องประมูลใบอนุญาตใหม่รวมถึงมองว่า ในอนาคตการปรับแก้กฎหมายก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง"

 
 

โดยภายงาน 1 ทศวรรษทีวีดิจิทัลประกอบการระดมความคิดเห็นครั้งใหญ่ประกอบด้วย

Chapter 1 : ทิศทางทีวีดิจิทัลหลังสิ้นสุดใบอนุญาตปี 2572

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูตร กรรมการกสทช.ด้านกิจการโทรทัศน์ แสดงวิสัยทัศน์ อนาคตของทีวีดิจิทัล  หลังสิ้นสุดใบอนุญาตในปี 2572 (เอกสารประกอบการแสดงวิสัยทัศน์)



 

ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ร่วมเสวนามอง Ecosystem ที่ส่งเสริมกิจการโทรทัศน์ให้อยู่รอดต่อไป



วัชร วัชรพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ไทยรัฐทีวีและไทยรัฐออนไลน์




ฉัตรชัย ตะวันธรงค์ อุปนายกฯสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล(ประเทศไทย),



ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชการอิสระด้านโทรทัศน์,



รัญชิตา ศรีวรวิไล ผู้อำนวยการธุรกิจมีเดียบริษัท นีลเส็น ประเทศไทย จำกัด,



เอกชัย ภัคดุรงค์ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านกลยุทธ์องค์กร บมจ.ไทยคม,



Nick Chuah กรรมการผู้จัดการ APAC บริษัท INVIDI ,



 

Chapter 2 :  Content is King

นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรอง อดีตกรรมการและเลขานุการคณะกรรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ  แสดงวิสัยทัศน์หัวข้อ Soft Power พลังเศรษฐกิจสร้างสรรค์,



ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์



เขมทัตต์ พลเดช นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์



Vision Stage อนาคตของละคร,ซีรี่ส์ไทย ไปไกลได้แค่ไหน

ณิธิภัทร์ เอื้อวัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาสเตอร์วัน วิดีโอโปร จำกัดและอดีตอนุกรรมการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟท์พาวเวอร์ ด้านภาพยนตร์ ละคร ซีรี่ย์และอนิเมชั่น,


ปิยะรัฐ กัลย์จาฤก รองประธานกรรมการบริหารด้านงานสร้างสรรค์บริษัท กันตนากรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ผู้สร้างซีรี่ส์”สืบสันดาน”ที่มีเรทติ้งอันดับหนึ่งบนแพลตฟอร์ม NETFLIX



เอกชัย เอื้อครองธรรม Ambassador for Thailand, Asian Academy Creative Awards; Film & Series Director, Scriptwriter, Showrunner, Producer & Executive Producer




ณฐกฤต วรรณภิญโญ  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ทีวีธันเดอร์ จำกัด(มหาชน)



วิบูลย์  ลีรัตนขจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม เซิร์ซ เอ็นเตอร์เทนเมนท์



Vision Stage อนาคต”ข่าว”ในผังโทรทัศน์ไทย

เทพชัย หย่อง ที่ปรึกษาฝ่ายข่าวภาษาอังกฤษ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส หัวข้อ ทางเลือกทางรอดของคนข่าวทีวีท่ามกลางพายุใหญ่



ผศ.ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีศึกษา Transmedia นวัตกรรมเล่าข้ามสื่อ (เอกสารประกอบการแสดงวิสัยทัศน์)



ปิดงานด้วยการแสดงดนตรีจากชมรมดนตรีไทยพีบีเอสและร่วมร้องเพลงโดยกิตติ สิงหาปัด ผู้ดำเนินรายการข่าว3มิติ ทางช่อง 3

 

 สามารถรับชมย้อนหลัง ได้ทาง 

https://www.youtube.com/live/VGBeTLvLnco?si=dn0bK4yAF5QJZCWp



 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้