Last updated: 14 พ.ค. 2566 | 1751 จำนวนผู้เข้าชม |
ไม่ว่าจะรับชมคอนเทนต์ผ่านทางช่องทางใดก็ตามรูปแบบคอนเทนต์ที่นำเสนอแล้วเข้าถึงจิตใจ อารมณ์และสามารถสื่อสารกับผุ้ชมได้มากที่สุุดตลอดมา คือ “กลุ่มคอนเทนต์ประเภทละคร ซิตคอม หรือซีรีส์” เนื่องจากในปัจจุบันที่ผู้ชมมี ทางเลือกการรับชมคอนเทนต์ ที่หลากหลาย ได้ส่งผลให้สถานการณ์การแข่งขันในการผลิตคอนเทนต์กลุ่มละครของไทยรุนแรงมากขึ้น
เนื่องจากผู้ประกอบการไม่เพียงแต่จะต้องแข่งขันกันเองภายในประเทศเท่านั้น แต่่ยังต้องแข่งขันกับคอนเทนต์จากต่างประเทศที่หลั่ งไหลเข้ามาเป็นทางเลือกมากมายซึ่งมีผู้ชมจำนวนไม่น้อยที่หันไปรับชมคอนเทนต์ต่างประเทศมากขึ้น โดยคอนเทนต์เหล่านี้ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการรับชม
ในวงการโทรทัศน์ดิจิทัลของไทย หลายช่องโทรทัศน์ดิจิทัลได้ลงทุนจ่ายค่าลิขสิทธิ์คอนเทนต์ ต่างประเทศที่ได้รับความนิยมสููงในต่างประเทศ เพื่อนำมาออกอากาศในผังรายการ แต่ก็พบว่าความนิยมของรายการเหล่านี้ ไม่สูงนักในกลุ่มผู้ชมโทรทัศน์ดิจิทัล ซึ่งปัจจัยหลักมีสาเหตุุจากการที่กลุ่มผู้ชมเป้าหมายส่วนใหญ่เคยรับชมคอนเทนต์เหล่านี้แล้วจากช่องทางออนไลน์ ทั้งการรับชมสดพร้อมกับการออกอากาศจากประเทศต้นทาง หรือในรูปแบบรายการรีรัน รวมถึงการรับชมตามความต้องการ (On Demand)
ถึงแม้ว่าคอนเทนต์ ต่างประเทศในโทรทัศน์ดิจิทัลจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจและความแปลกใหม่ให้ กับผู้ชมจนได้รับความนิยมและสามารถสร้างกระแสให้เป็นที่พูดถึงได้แต่อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาข้อมูลเรตติ้งทางโทรทัศน์ดิจิทัลแล้วพบว่า คอนเทนต์ที่ยังครองใจผู้ชมไทยได้มากที่สุด ยังคงเป็นละครไทยอยู่นั่นเอง
จากข้อมููลเรตติ้งข้างต้นพบว่า “ละคร” เป็นรายการที่ได้รับความนิยมสูงสุดในทุกๆ ปีของยุุคโทรทัศน์ดิจิทัล แม้ว่าในช่วงปี 2559 ต่อเนื่องไปยังปี 2560 มีรายการวาไรตี้เกมโชว์อย่างรายการ “หน้ากากนักร้อง The Mask Singer ซีซั่น 1” ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ทีวี ที่สร้างประวัติศาสตร์เป็นรายการวาไรตี้ เกมโชว์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในยุคโทรทัศน์ดิจิทัลแต่ก็ยังไม่สามารถทำเรตติ้งตลอดทั้งซีซันได้สูงกว่าละครไทยอย่างเรื่อง “นาคี ” ที่ออกอากาศในปี 2559 และ “นายฮ้อยทมิฬ” ที่ออกอากาศในปี 2560 ได้
เมื่อวงการโทรทัศน์ดิจิทัลมีแหล่งรายได้หลักจากการโฆษณา และเมื่อพิจารณาข้อมูลมูลค่าโฆษณาในสื่อของประเทศไทย จากการเก็บข้อมูลของ บริษัท เอจีบี นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด พบว่า โฆษณาในช่องทางสื่อโทรทัศน์ดิจิทัลยังคงมีมููลค่าสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับทุกสื่ออีกทั้งเมื่อเรตติ้งรายการเป็นตัวการันตียอดผู้ชม รายการประเภทละครซึ่งเป็นรายการที่เป็นที่คุ้นเคยกับรสนิยมผู้ชมไทยและสามารถทำเรตติ้งได้สูงอย่างต่อเนื่อง จึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของบรรดาช่องโทรทัศน์ดิจิทัลในการจัดเนื้อหาละครลงในผังรายการ
นอกจากนี้ เนื้อหารายการประเภทละครที่แต่ละช่องผลิตยังสามารถขายลิขสิทธิ์เนื้อหาเพื่อไปออกอากาศในต่างประเทศ ผ่านช่องทางสตรีมมิ่ง หรือช่องทางอื่นๆซึ่งเป็นอีกหนึ่งแหล่งรายได้ใหม่ ทั้งยังสามารถนำมาออกอากาศซ้ำหรือรีรันได้ตลอด ซึ่งเป็นการตอบโจทย์เรื่องการลดต้นทุนการผลิตได้ โดยไม่มีข้อจำกัดเหมือนการซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์และซีรีส์ต่างประเทศ ที่จำกัดจำนวนครั้งการออกอากาศต่อการทำสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์แต่ละครั้ง
ทั้งนี้ในช่วงสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ที่มีผลกระทบต่อการผลิตละครและรายการต่างๆ ยิ่งทำ ให้เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นถึงความสำคัญของการรีรันคอนเทนต์ละคร โดยจะเห็นได้ว่าช่องโทรทัศน์ดิจิทัลที่มีการผลิตละครเก็บไว้ในคลังเป็นจำนวนมาก จะมีความได้เปรียบมากกว่า เนื่องจากมีทางเลือกในการหยิบละครยอดนิยมที่เคยออกอากาศไปแล้วมาจัดเรียงลงผังรายการซึ่งเป็นทั้งการลดต้นทุนการผลิตสร้างเรตติ้ง และสร้างรายได้ให้กับช่องได้ด้วยในเวลาเดียวกัน
ข้อมูลเรตติ้งละครไทยในปี 2564 พบว่าละครที่ได้รับความนิยมสููงใน 20 อันดับแรก มีอยู่แค่ 3 ช่องเท่านั้นได้แก่ ช่อง 7HD ช่อง 3HD และช่่อง One โดยละครเรื่องที่ได้รับความนิยมสููงสุุดอยู่ใน 2 ช่วงเวลาของเวลาไพรม์ไทม์ ได้แก่ ช่วงเวลา 19.00-20.00 น. และ ช่วงเวลา 20.00-22.30 น. โดยมีละครจากช่อง 7HD ถึง 14 เรื่องรวมถึงละครรีรันด้วย ในขณะที่ละครจากช่อง 3HD และช่อง One มีจำนวนช่องละ 3 เรื่อง และเป็นละครที่ออกอากาศในช่่วงเวลา 19.00-20.00 น. ทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์การแข่่งขันชิงผู้ชมของละคร 1 ทุ่ม ซึ่งเป็นหนึ่งช่วงเวลาที่มีจำนวนผู้ชมสููงนั้น ไม่ได้มีผู้นำที่ตายตัว แต่มีเนื้อหาละครเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสิินความนิยมของผู้ชม
ในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมาพบว่าช่องโทรทัศน์ดิจิทัลที่ผลิตละคร ซิตคอมและซีรีส์เพื่อออกอากาศมีจำนวนทั้งสิ้น 12 ช่่อง ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นหลายกลุ่มได้ดังนี้
เป็นที่น่าสนใจว่า ช่อง JKN 18 ที่มีซีรีส์อินเดีย เป็นคอนเทนต์ยอดนิยมของช่อง เริ่มนำคอนเทนต์ละครมาลงผังรายการเช่นกัน แต่เป็นละครที่เคยออกอากาศมาแล้วที่ช่อง8 และนำมาออกอากาศซ้ำอีกครั้งในช่อง JKN18 ทั้งนี้ ช่อง 8 และช่อง JKN 18 เป็นพันธมิตรทางธุุรกิจร่วมกัน โดยที่ช่อง 8 ซื้อลิขสิทธิ์ ซีรีส์อินเดียจากกลุ่มบริษัทผู้ถือหุ้นใหญ่ของช่อง JKN18 ไปออกอากาศ นอกจากนี้ยังเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ของช่องโทรทัศน์ดิจิทัลช่องอื่นๆ เช่น บริษัท โมโน เน็กซ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของช่อง Mono 29 ซึ่งได้ประกาศกลยุุทธ์ใหม่ของช่องในปี 2565 ว่าจะหันมาเน้นการผลิิตละครและคอนเทนต์ในประเทศมากขึ้น เพื่อทดแทนการซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนต์จากต่างประเทศ ตามแผนการลดต้นทุนของบริษัทให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งคอนเทนต์ ที่ผลิตเองนี้จะนำมาออกอากาศทั้งในช่่อง Mono 29 และบริการคอนเทนต์ในช่องทางออนไลน์ของกลุ่มบริษัทต่่อไป
แม้ว่าการผลิตละครไทย มีต้นทุนสูง รวมถึงต้องมีบทละครและนักแสดงที่ดึงดูดผู้ชมได้ แต่่อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน บรรดานักแสดงชื่อดังจำนวนมากไม่ต่อสัญญาผูกมัดกับช่องใดช่องหนึ่ง เป็นนักแสดงอิสระ พร้อมๆกับการเกิดขึ้นของนักแสดงหน้าใหม่อย่างต่อเนื่องทำให้แต่ละช่องสามารถเลือกสรรนักแสดงให้เหมาะสมกับเนื้อหาละครที่ต้องการผลิตได้มากขึ้น นอกจากนี้ บทละครเองก็มีการพัฒนาให้ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ในสังคม เริ่มมีการสร้างพล็อตละครที่เจาะกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มโดยตรง เช่น กรณีซีรีส์วาย ที่เป็นผลมาจากการเปิดกว้างทางสังคม ที่ให้การยอมรับและการปฏิบัติกับบุุคคลอื่นโดยไม่จำกัดเพศมากขึ้น
ทั้งหมดนี้ช่วยเปิดทางให้ช่องโทรทัศน์ดิจิทัลสามารถพัฒนาการผลิตละคร ซิตคอม หรือซีรีส์และสามารถเพิ่มช่องทางสร้างรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ในช่องทางออนไลน์ แอปพลิเคชั่นทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังสร้างชื่อเสียงในการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ (SoftPower) ของไทยในตลาดต่างประเทศได้ด้วยเช่นกัน
ขอบขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกสทช.