บทความทั้งหมด

การเรียบเรียงบรรทึกประสบการณ์ส่วนหนึ่งในระหว่างสองสัปดาห์ ของการเข้าร่วมประชุมระดับนานาชาติด้านการสื่อสารดิจิทัล ณ มหาวิทยาลัยโซกัง (Sogang University) ประกอบกับการศึกษาดูงานกิจการสถานีโทรทัศน์ อุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์ การนจัดแสดงนวัตกรรมสื่อสารดิจิทัล พิพิธภัณฑสถานและแกลเลอรี่ศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ

สำนักงานกสทช. ร่วมกับ สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) และ บริษัท เอจีบี นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) ร่วมกัน รายงาน "Cross Platfom Rating" ประจำสัปดาห์ และประจำเดือนแก่ประชุาชนที่สนใจ สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ และสถาบันศึกษา สามารถดาวน์โหลดการรายงานข้อมูลการวัดผลเรตติ้งประจำเดือนได้จากเว็บไซต์ของสมาคม ตามลิงก์ด้านล้างนี้

สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) ร่วมกับ บริษัท เอจีบี นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด และ สำนักงานกสทช. สรุปข้อมูลเรตติ้งโครงการสำรวจความนิยมช่องรายการโทรทัศน์ประเภทการสำรวจรายการดิจิทัลแบบ CROSS PLATFORM และรายงานข้อมูลประจำเดือนกันยายน

เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคในสังคมยุคดิจิทัลปัจจุบัน มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภค สามารถเลือกรับชมเนื้อหารายการผ่านแพลตฟอร์มที่หลากหลายขึ้น โดยใช้อุปกรณ์อื่นๆ นอกเหนือจากโทรทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการรับชมผ่านทางโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต

การเปรียบเทียบให้เห็นได้อย่างเข้าใจง่าย ถึงประเด็นการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ไทย กับ แพลทฟอร์ม OTT

จากความพยายามที่จะลดความเหลื่อมล้ำหรือสร้างความเท่าเทียมระหว่างผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ภายในประเทศกับแพลตฟอร์ม OTT จากต่างประเทศ การนำเสนอจะทำให้เห็นภาพถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนเกี่ยวกับกฎระเบียบ เงื่อนไข ที่กำกับดูแลทั้งสองกิจการ นั่นคือกิจการโทรทัศน์ได้รับการกำกับดูแลจากกสทช. ที่มีกฎหมาย และประกาศต่างๆ เป็นต้น ในขณะที่ OTT จากต่างประเทศ มีความอิสระในการดำเนินการมากกว่าผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ในประเทศ

สำนักงานกสทช. ร่วมกับ สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) และ บริษัท เอจีบี นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) ร่วมกัน รายงาน "Cross Platfom Rating" ประจำสัปดาห์ และประจำเดือนแก่ประชุาชนที่สนใจ สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ และสถาบันศึกษา สามารถดาวน์โหลดการรายงานข้อมูลการวัดผลเรตติ้งประจำเดือนได้จากเว็บไซต์ของสมาคม ตามลิงก์ด้านล้างนี้

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00 น. ณ สำนักงานกสทช กับการเปิดตัวการสำรวจความนิยมทางโทรทัศน์แบบใหม่ที่แรกในอาเซียน การสำรวจแบบ CROSS PLATFORM

(27 ก.ค. 65) สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดโครงการอบรม PDPA สำหรับกลุ่มผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ระบบดิจิตอล เพื่อสร้างองค์ความรู้แก่สื่อมวลชน ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลทั้ง 15 ช่อง ณ ห้องกมลมาศ ชั้น 6 โรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ

การประชุม "PDPA สำหรับผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์" จัดโดยสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30 น. ณ อาคารอำนวยการ สำนักงานกสทช.

สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย), สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์, องค์กรสื่อกว่า 30 สำนัก มหาวิทยาลัยต่างๆรวมถึงองค์กรภาครัฐ ร่วมมือ รายงานผลคะแนนเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (อย่างไม่เป็นทางการ)

นายสุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ทางสมาคมและสมาชิกช่องทีวีดิจิทัลมีความเห็นตรงกันยืนยันหากยกเลิก “ประกาศเรียงช่องปี 58” จะทำให้อุตสาหกรรมเสียหายมหาศาล ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ชม ไม่ว่าจะเป็นการหาช่องที่ต้องการรับชมไม่เจอ , จำนวนผู้ช่องทีวีดิจิทัลลดลง

ในที่สุดโครงการพัฒนาระบบสำรวจความนิยมรายการโทรทัศน์ (tv rating) แบบใหม่ข้ามแพลตฟอร์ม ที่สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) ยื่นเสนอโครงการขอสนับสนุนงบประมาณ 288.8 ล้านบาท จาก กสทช. ก็ผ่านการพิจารณาอนุมัติและเซ็นสัญญาบันทึกความเข้าใจร่วมกันแล้ว หลังจากยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2562

คอนเทนต์ที่ถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง และความเป็นอยู่ของผู้คนในแต่ละยุุคสมัยรายการทางโทรทัศน์ของไทยเองก็ได้พัฒนาและก้าวไปตามทิศทางของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งนับจากยุคแอนะล็อกจนถึงดิจิทัล เทคโนโลยี ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการพัฒนาช่องทางการรับชมเนื้อหารายการ จนทำให้ผู้ชมสามารถรับชมคอนเทนต์ได้ในหลากหลายช่องทาง

ในปี 2557 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เปิดประมููลใบอนุุญาตในการใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล โดยมีผู้ชนะการประมููลช่องประเภทธุุรกิจจำนวน 24 ช่อง แบ่งประเภทช่องที่ประมููล เป็น 4 หมวดหมู่ ได้แก่ หมวดเด็กเยาวชน และครอบครัว จำนวน 3 ช่่อง หมวดข่าวสารสาระ จำนวน 7 ช่อง หมวดทั่วไปแบบความคมชัดปกติ (SD) จำนวน 7 ช่อง และหมวดทั่วไปแบบความคมชัดสููง(HD) จำนวน 7 ช่อง นอกจากนี้แล้วยังมีหมวดช่องสาธารณะจำนวน 4 ช่อง ดังนั้น ในช่วงแรกของยุุคโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลนั้น มีจำนวนช่องที่นำเสนอเนื้อหาทั้งหมด 28 ช่่อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้