ข้อบังคับของ สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย)

หมวดที่ ๑
ความทั่วไป

ข้อ ๑   สมาคมนี้มีชื่อว่าสมาคมโทรทัศน์ดิจิตอล (ประเทศไทย) ย่อว่า "สทท" เรียกเป็นภาษาอังกฤษ เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าAssociation of Digital Television Broadcasting (Thailand) ย่อว่า "ADTEB"
ข้อ ๒   เครื่องหมายของสมาคมมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ตรงกลางของเครื่องหมายมีอักษรย่อภาษาอังกฤษของสมาคมว่า   ADTEB ภายใต้ตัวอักษรมีลักษณะเป็นแถบพื้นสี RGB ปรากฎอยู่ในตัวอักษรดังกล่าว ส่วนด้านล่างของตัวอักษรดังกล่าวมีชื่อสมาคมภาษาอังกฤษสีคำว่า ASSOCIATION OF DIGITAL TELEVITION BROADCASTING (THAILAND)
ข้อ ๓   สำนักงานของสมาคมตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๖๓/๑ ถนนพระราม ๙ แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ๑o๓๑o
ข้อ ๔   วัตถุปรสงค์ของสมาคมเพื่อ
          ๔.๑    แนะนำ ให้ความช่วยเหลือ คุ้มครองประโยชน์ของประชาชนและองค์กรสื่ออื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และการรู้เท่าทันสื่อ
          ๔.๒   ส่งเสริม แนะนำ ให้ความช่วยเหลือการพัฒนากิจการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลให้มีมาตรฐานยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
          ๔.๓    ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลสมาชิกให้มีความเหมาะสมในกรอบของจรรยาบรรณ จริยธรรมแห่งวิชาชีพ กฏ  ระเบียบ ข้อบังคับสมาคม และกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนพิจารณาลงโทษสมาชิกที่กระทำผิดกรอบของจรรยาบรรณ จริยธรรม  กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของสมาคมและกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
          ๔.๔    พิจารณาทบทวน ปรับปรุง ข้อบังคับให้มีความทันสมัย เพื่อสามารถตอบสนองต่อการพิจารณาเรื่องร้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
          ๔.๕    เป็นผู้ประสานงาน หรือผู้แทนของสมาชิกในการให้คำปรึกษา เจรจาออกกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์กับหน่วยงานราชการ หน่วยงาน หรือสถาบันอื่นทั้งภายในและภายนอกประเทศ
          ๔.๖   ดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศล และองค์กรสาธาณประโยชน์
          ๔.๗   ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ แก่สมาชิกที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ หรือการกระทำไปโดยชอบ ที่เป็นประโยชน์ต่อสมาคมหรือประโยชน์สาธารณะ
          ๔.๘   เป็นตัวแทน หรือศูนย์กลางของสมาชิกในการดำเนินการเรื่องต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
          ๔.๙   รับการสนับสนุนเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม จากบุคคล นิติบุคคลหรืองอค์กรต่างๆ
          ๔.๑o.  พัฒนามาตรฐานทางจริยธรรมของสมาคมให้มีความครบถ้วน ครอบคลุมทุกด้านและสอดคล้องกับพัฒนาการความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
          ๔.๑๑  ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงรักษาไว้ซึ่งเกียรติของวิชาชีพและของสมาชิก
          ๔.๑๒  ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์และการรู้เท่าทันสื่อ
          ๔.๑๓  ศึกษา วิจัย สำรวจความนิยมของรายการโทรทัศน์และช่องรายการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมและะสนับสนุนอุตสาหกรรมโทรทัศน์ รวมทั้งเพื่อประโยชน์สาธารณะ

หมวดที่ ๒
สมาชิก

ข้อ ๕  สมาชิกของสมาคมมี ๓ ประเภท คือ
          ๕.๑     สมาชิกสามัญ ได้แก่ นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดินประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ
          ๕.๒     สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ บุคคลหรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการด้านโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน
          ๕.๓     สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติ หรือทรงคุณวุฒิ หรือเป็นผู้มีอุปการคุณแก่สมาคมซึ่งคณะกรรมการลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม

ข้อ ๖  สมาชิกต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
          ๖.๑ สมาชิกสามัญ
                    ๖.๑.๑     เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฏหมายไทย
                    ๖.๑.๒     ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐให้เป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดินประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ
                    ๖.๑.๓     นิติบุคคลหรือผู้แทนนิติบุคคลที่เป็นสมาชิกต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
                                               ๖.๑.๓.๑    ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลว่ากระทำผิดกฏหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กฏหมายลิขสิทธิ์ และกฎหมายอาญา เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น่อยกว่าสามปีหรือเป็นความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
                                               ๖.๑.๓.๒   ไม่เคยพิจารณาให้ออก ไล่ออก ขับให้พ้นออกจากการเป็นสมาชิก หรือมี พฤติกรรมลาออกจากองค์กรที่ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กระทำผิดมาตรฐานทางจริยธรรม
          ๖.๒ สมาชิกวิสามัญ
                    ๖.๒.๑    เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว
                    ๖.๒.๒    เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
                    ๖.๒.๓    ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
                    ๖.๒.๔    เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฏหมายไทย
                    ๖.๒.๕    บุคคล นิติบุคคล หรือผู้แทนนิติบุคคลที่เป็นสมาชิก ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
                                      ๖.๒.๕.๑    ไม่เคยต้องพิพากษาถึงที่สุดของศาลว่ากระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์  กฏหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ และกฏหมายอาญา เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี หรือ  เป็นความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
                                      ๖.๒.๕.๒    ไม่เคยถูกพิจารณาให้ออก  ไล่ออก ขับให้พ้นออกจากการ เป็นสมาชิก หรือมีพฤติกรรมลาออกองค์กรที่ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เมื่อถูกร้องเรียนว่ากระทำผิดฎหมายทางจริยธรรม
                    ๖.๒.๖    เป็นผู้เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการด้านโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ภาคพื้นดิน หรือทำงานอยู่ในองค์กรที่ประกอบกิจการด้านโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน และ/หรือ มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน เช่น ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนกับการประกอบกิจารโทรทัศน์ เป็นต้น

ข้อ ๗ ค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงสมาคม
          ๗.๑    สมาชิกสามัญจะต้องเสียงค่าลงทะเบียนคร้้งแรก ๑oo,ooo บาท ต่อช่องรายการโทรทัศน์ ส่วนค่าบำรุงรายปีให้เป็น อำนาจของคณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้พิจารณากำหนด
          ๗.๒    สมาชิกวิสามัญจะต้องเสียงค่าลงทะเบียนครั้งแรก ๕o,ooo บาท  ส่วนค่าบำรุงรายปีให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ ของสมาคมเป็นผู้พิจารณากำหนด
          ๗.๓    สมาชิกกิตติมศักดิ์ ไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคม ทั้งนี้ การกำหนด เพิ่ม ลด หรือ ยกเว้น ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงรายปี ตามข้อ ๗.๑ และ ๗.๒ ให็เป็นอำนาจของคณะกรรมการของสมาคมในการพิจารณากำหนดเป็นกรณีๆไป

ข้อ ๘  การสมัครเป็นสมาชิกของสมาคม
          ๘.๑    สมาชิกสามัญ ให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญของสมาคม ยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมต่อเลขานุการโดย สมาชิกสามัญรับรองอย่างน้อย 1 คน และให้เลขานุการติดประกาศรายชื่อผู้สมัครไว้ ณ สำนักงานขอสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน เพื่อให้สมาชิกสามัญของสมาคมคัดค้านการสมัครนั้น เมื่อครบกำหนดประกาศแล้วให้เลขานุการนำใบสมัครและหนังสือคัดค้านของสมาชิก (ถ้ามี) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติว่าจะรับหรือไม่รับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมและเมื่อคณะกรรมการพิจารณาการสมัครแล้วผลเป็นประการใด ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งให้ผู้สมัครทราบโดยเร็ว
          ๘.๒    สมาชิกวิสามัญ  ให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกวิสามัญของสมาคม ยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมต่อเลขานุการ โดยสมาชิกสามัญรับรองอย่างน้อย 2คน และให้เลขานุการติดประกาศรายชื่อผู้สมัครไว้ ณ สำนักงานขอสมาคม เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน เพื่อให้สมาชิกสามัญของสมาคมคัดค้านการสมัครนั้น เมื่อครบกำหนดประกาศแล้วให้เลขานุการ นำใบสมัครและหนังสือคัดค้านของสมาชิก (ถ้ามี) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติว่าจะรับหรือไม่รับ เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมและเมื่อคณะกรรมการพิจารณาการสมัครแล้วผลเป็นประการใด ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งให้ผู้สมัครทราบโดยเร็ว

ฃ้อ ๙  ถ้าคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติิให้ผู้รับสมัครเข้าเป็นสมาชิก ก็ให้ผู้สมัครนั้นชำระเงิค่าลงทะเบียนและบำรงสมาคมให้ เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขานุการและสมาชิกภาพของผู้สมัคร ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้สมัคร ได้ชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าผู้สมัครไม่ชำระค่าลง ทะเบียน ละค่าบำรุงภายในกำหนด ก็ถือได้ว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก

ข้อ ๑o   สมาชิกภาพขอสมาชิกกิตติมศักดิ์ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่หนังสือตอบรับคำเชิญของผู้ที่คณะกรรมการได้พิจารณาให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมได้มาถึงสมาคม

ข้อ ๑๑   สมาชิกภาพของ สมาคมให้สิ้นสุดลงด้วยวเหตุผลดังต่อไปนี้
                      ๑๑.๑    ตายหรือสิ้นสภาพความเป็นนิตบุคคล
                      ๑๑.๒    ลาออก โดยยื่นหนึงสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และคณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติ และสมาชิกผู้นั้นได้ชำระหนี่สินที่ติดค้างอยู่กับสมาคมเป็นที่เรียบร้อย
                      ๑๑.๓    ขาดคุณสมบัติของการเป็นสมาชิก
                      ๑๑.๔    ที่ประชุมใหญ่ของสมาคม หรือกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียน

ข้อ ๑๒  สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
                      ๑๒.๑    มีสิทธิ์เข้าใช้สถานที่ของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน
                      ๑๒.๒    มีสิทธิ์เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมต่อีคณะกรรมการ
                      ๑๒.๓    มีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการต่างๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
                      ๑๒.๔    มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม
                      ๑๒.๕    สมาชิกสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้ง  หรือได้รับการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสมาคม และมีสิทธิ ออกเสียงลงมติตางๆ ในที่ประชุมได้คนละ 1 คะแนนเสียง
                      ๑๒.๖    มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการ  เพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สิน่ของสมาคม
                      ๑๒.๗   มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด หนังสือร้องขอต่อคณะ กรรมการให้ประชุมใหญ่วิสามัญได้
                      ๑๒.๘    มีหน้าที่จะต้องปฎิบัติตามระเบียบปฎิบัติ และข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด
                      ๑๒.๙    มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม
                      ๑๒.๑o  มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่างๆ ของสมาคม
                      ๑๒.๑๑  มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดขึ้น
                      ๑๒.๑๒  มีหน้าที่เผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
                      ๑๒.๑๓  ต้องมีส่วนร่วมหรือให้ความยินยอมที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมที่สมาคมกำหนด

หมวดที่ ๓
การดำเนินกิจการสมาคม

ข้อ ๑๓  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคม มีจำนวนอย่างน้อย ๗ คน อย่างมากไม่เกิน ๒๔ คน คณะกรรมการนี้ได้มาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม และให้ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่เลือกกันเองเป็นนายกสมาคม ๑ คน และอุปนายกอย่างน้อย ๒ คน สำหรับตำแหน่งกรรมการในตำแหน่งอื่นๆ ให้นายกเป็นผู้แต่งตั้งผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่เข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ของสมาคม ตามที่ได้กำหนดไว้ซึ่งตำแหน่งของกรรมการสมาคมมีตำแหน่งและหน้าที่โดยสังเขป ดังต่อไปนี้
               ๑๓.๑ นายกสมาคมทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคม คณะกรรมการเป็นผู้แทนสมาคมในติดต่อกับบุคคลภายนอก และทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม  คณะกรรมการ และการประชุมใหญ่ของสมาคม
               ๑๓.๒ อุปนายกทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารจัดการสมาคม ปฏิบัติตามหน้าที่ที่นายกสมาคมได้มอบหมายและ ทำหน้าที่แทนนายกสมาคมเมื่อนายกสมาคมไม่อยู่ หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทำหน้าที่แทนนายก สมาคมให้อุปนายกตามลำดับตำแหน่งเป็นผู้กระทำการแทน
               ๑๓.๓ เลขานุการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมด เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของสมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคม และปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสมาคมตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่างๆ ของสมาคม
               ๑๓.๔ เหรัญญิกมีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย บัญชีงบดุลของสมาคม และเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ
               ๑๓.๕ นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคมประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าบำรุงสมาคมจากสมาชิก
               ๑๓.๖ ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
               ๑๓.๗ กรรมการตำแหน่งอื่นๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้นโดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กำหนด ตำแหน่งก็ถือว่าเป็นกรรมการกลาง คณะกรรมการชุดแรก ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมเป็นผู้เลือกตั้งประกอบด้วยนายกสมาคม และกรรมการอื่นๆ ตามจำนวนที่เห็นสมควรตามข้อบังคับของสมาคม

ข้อ ๑๔  คณะกรรมการของสมาคมสามารถอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ ๒ ปี และเมื่อคณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งครบกำหนดตามวาระแล้ว แต่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการก็ให้คณะกรรมการที่ครบกำหนดตามวาระรักษาการไปพลางก่อน จนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการและเมื่อคณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการส่งและรับมอบงานกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการชุดใหม่ให้เป็นที่เสร็จภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการ

ข้อ ๑๕    ตำแหน่งกรรมการสมาคม ถ้าต้องว่างลงก่อนครบกำหนดวาระก็ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างลงนั้น แต่ผู้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น

ข้อ ๑๖    กรรมการต้องเป็นบุคคลธรรมดาและ 
               ๑๖.๑      เป็นผู้แทนของนิติบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกสามัญ
               ๑๖.๒      เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว
               ๑๖.๓      ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
                              ๑๖.๓.๑   ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลว่ากระทำผิดกฏหมายว่าด้วยการประกอบกิจการการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ และกฎหมายอาญา เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี หรือเป็นความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
                              ๑๖.๓.๒    ไม่เคยถูกพิจารณาให้ออก ไล่ออก ขับให้พ้นออกจากการเป็นสมาชิก หรือมีพฤติกรรมลาออกจากองค์กรที่ประกอบกิจการการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เมื่อถูกร้องเรียนว่ากระทำผิดมาตรฐานทางจริยธรรม

ข้อ ๑๗     กรรมการอาจพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งไม่ใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้ คือ
               ๑๗.๑     ตาย
               ๑๗.๒     นิติบุคคลที่ตนเป็นตัวแทนสิ้นสภาพความเป็นนิติบุคคล  หรือสิ้นสภาพความเป็นสมาชิก
               ๑๗.๓     ออกจากนิติบุคคลที่เป็นสมาชิก
               ๑๗.๔     นิติบุคคลขอยกเลิกหรือเปลี่ยนตัวแทน
               ๑๗.๕     ขาดจากสมาชิกภาพ
               ๑๗.๖     ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้พ้นจากตำแหน่ง

               กรณีที่กรรมการที่เป็นตัวแทนของนิติบุคคลเสียชีวิตลง หรือออกจากนิติบุคคล หรือนิติบุคคลขอยกเลิก หรือเปลี่ยนตัวแทน ให้นิติบุคคลนั้นแจ้งรายชื่อตัวแทนคนใหม่เข้ามาเป็นกรรมการให้สมาคมทราบภายใน  ๑๕ วัน นับแต่วันที่กรรมการผู้นั้นเสียชีวิตลง หรือออกจากนิติบุคคล หรือนิติบุคคลขอยกเลิก หรือเปลี่ยนตัวแทน

ข้อ ๑๘    กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ

ข้อ ๑๙   อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
               ๑๙.๑     มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้
               ๑๙.๒     มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม 
               ๑๙.๓     มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการ จะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง 
               ๑๙.๔     มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ 
               ๑๙.๕     มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่นๆ ตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้ 
               ๑๙.๖     มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนมีอำนาจอื่นๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้ 
               ๑๙.๗     มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ และประชุมใหญ่วิสามัญตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้
               ๑๙.๘      มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถให้สมาชิกตรวจดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
               ๑๙.๙     จัดทำบันทึกการประชุมต่างๆ ของสมาคม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิกได้รับทราบ
               ๑๙.๑๐    หน้าที่อื่นๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้

ข้อ ๒๐     คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อย ๓ เดือน ต่อครั้ง ทั้งนี้เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม

ข้อ ๒๑     การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดจึงจะถือว่าครบองค์ประชุมมติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ โดยกรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน แต่ถ้าเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในการประชุมออกเสียงเพิ่มได้อีก ๑ สียง เป็นเสียงชี้ขาด

ข้อ ๒๒     ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

หมวดที่ ๔
การประชุมใหญ่

ข้อ ๒๓     การประชุมใหญ่ของสมาคม มี ๒ ชนิด คือ
                 ๒๓.๑     การประชุมใหญ่สามัญประจำปี
                 ๒๓.๒     การประชุมใหญ่วิสามัญ

ข้อ ๒๔     คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๆ ละ ๑ ครั้ง ภายในเดือนพฤษภาคมของทุกปี

ข้อ ๒๕    การประชุมใหญ่วิสามัญ อาจจะมีขึ้นได้ก็โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือเกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิก สามัญไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมดทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดให้มีขึ้น

ข้อ ๒๖    การแจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบ และการแจ้งจะต้องเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวัน เวลา และสถานที่ให้ชัดเจน โดยจะต้องแจ้งให้สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วัน และประกาศแจ้งกำหนดนัดประชุมไว้ ณ สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๗ วัน ก่อนถึงกำหนดการประชุมใหญ่

ข้อ ๒๗    การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
                 ๒๗.๑     แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
                 ๒๗.๒     แถลงบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ
                 ๒๗.๓     เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เมื่อครบกำหนดวาระ
                 ๒๗.๔     เลือกตั้งผู้สอบบัญชี
                 ๒๗.๕     เรื่องอื่น ๆ ถ้ามี

ข้อ ๒๘    ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือการประชุมใหญ่วิสามัญจะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุม
                ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายใน ๑๔ วันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก สำหรับการประชุมในครั้งหลังนี้ ถ้ามีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนเท่าใด ก็ให้ถือว่าครบองค์ประชุม ยกเว้นถ้าเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญที่เกิดขึ้นจากการร้องขอของสมาชิก ก็ไม่ต้องจัดประชุมใหญ่โดยให้ถือว่าการประชุมเป็นอันยกเลิก
                 ทั้งนี้ นายกสมาคม เลขานุการสมาคม หรือ คณะกรรมการของสมาคม (แล้วแต่กรณี) อาจกำหนดให้จัดการประชุมใหญ่ของสมาคมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้  ในกรณีที่มีการประชุมใหญ่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การดำเนินการจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด
                 ในการส่งหนังสือเชิญประชุมและเอกสารประกอบการประชุมสามารถดำเนินการตามวิธีการและระยะเวลาที่กฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมนั้นได้กำหนดไว้  หรือ  จะส่งโดยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แทนก็ได้

ข้อ ๒๙    การลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ ถ้าข้อบังคับไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ โดยสมาชิกคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในการประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

ข้อ ๓๐    ในการประชุมใหญ่ของสมาคม ถ้านายกสมาคม และอุปนายกสมาคมไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งให้ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

หมวดที่ ๕
การเงินและทรัพย์สิน

ข้อ ๓๑        การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของสมาคมถ้ามี ให้นำฝากไว้ในธนาคารพาณิชย์ ตามมติของคณะกรรมการ

ข้อ ๓๒        การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาคม จะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคม หรือผู้ทำการแทนลงนามร่วมกับเหรัญญิก หรือเลขานุการ พร้อมกับประทับตราของสมาคมจึงจะถือว่าใช้ได้

ข้อ ๓๓        ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) 
                   ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการและคณะกรรมการจะอนุมัติให้จ่ายได้ครั้งละไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน) ถ้าจำเป็นจะต้องจ่ายเกินกว่านี้ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยกเว้นการจ่ายเงินเดือนให้พนักงานของสมาคมสามารถสั่งจ่ายได้ตามความเป็นจริง

ข้อ ๓๔        เหรัญญิก มีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้ จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันทีที่โอกาสอำนวยให้

ข้อ ๓๕         เหรัญญิกจะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุล ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ การรับหรือจ่ายเงินทุกครั้งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทน ร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ทำการแทนพร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง

ข้อ ๓๖        ผู้สอบบัญชี จะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต

ข้อ ๓๗        ผู้สอบบัญชี มีอำนาจหน้าที่จะเรียกเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการ และสามารถ
                    จะเชิญกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของสมาคมได้

ข้อ ๓๘        คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี เมื่อได้รับการร้องขอ

หมวดที่ ๖
การควบคุมด้านจริยธรรมและการพิจารณาเรื่องร้องเรียน

ข้อ ๓๙     สมาชิกรายใดที่แพร่ภาพและเสียงที่ส่อไปทางลามกอนาจาร ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน หากได้รับการร้องเรียนจากประชาชน หน่วยงานของรัฐ หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้น และคณะกรรมการได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นความจริง สมาชิกรายนั้นจะต้องถูกถอดถอนออกจากการเป็นสมาชิกภาพของสมาคม และแจ้งให้เป็นที่ทราบโดยทั่วกันต่อไป

ข้อ ๔๐     สมาชิกต้องไม่ดำเนินการอย่างใดๆ อันจะเป็นทางนำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคมไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

ข้อ ๔๑     การจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของสมาคมและการพิจารณาเรื่องร้องเรียนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการสมาคมกำหนดโดยต้องมีการคำนึงถึงการคุ้มครองการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะของประชาชน การคุ้มครองผู้บริโภคจากการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ประกอบ อาชีพและวิชาชีพขององค์กร และจะต้องสอดคล้องกับกฎ ระเบียบ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ข้อ ๔๒     การจัดทำมาตรฐานจรรยาบรรณและจริยธรรม ต้องมีหลักเกณฑ์อย่างน้อยดังนี้
                 ๔๒.๑     ตระหนักถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เที่ยงตรง ครบถ้วน สมดุล และเป็นธรรม
                 ๔๒.๒     ตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน สิทธิส่วนบุคคล สิทธิในครอบครัว เกียรติยศชื่อเสียงข้อมูลส่วนตัว
                 ๔๒.๓     ตระหนักถึงความอิสระทางวิชาชีพ ความรับผิดชอบต่อสังคม ผลกระทบต่อผู้บริโภค
                 ๔๒.๔     เคารพในลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา
                 ๔๒.๕     ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติเพื่อสร้างสรรค์สังคม ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น
                 ๔๒.๖     ปกป้องเด็กและเยาวชนจากเนื้อหาที่มีความเสี่ยงและเด็กที่ปรากฏในสื่อ
                 ๔๒.๗     ให้พื้นที่สาธารณะ ข่าวสารสาธารณะในเหตุการณ์สาธารณะที่สำคัญ
                 ๔๒.๘     ระมัดระวังการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง

ข้อ ๔๓     ให้สมาคมพิจารณาทบทวนมาตรฐานทางจริยธรรมให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์หรือการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เป็นประจำทุกปี

หมวดที่ ๗
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม

ข้อ ๔๔     ข้อบังคับของสมาคมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด มติของที่ประชุมใหญ่ในการให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด

ข้อ ๔๕     การเลิกสมาคมจะเลิกได้ก็โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุของกฎหมาย มติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้เลิกสมาคมจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด และองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด

ข้อ ๔๖     เมื่อสมาคมต้องเลิก ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ชำระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตกเป็นของสภากาชาดไทย

หมวดที่ ๘
บทเฉพาะกาล

ข้อ ๔๗     ข้อบังคับฉบับนี้นั้น ให้เริ่มใช้บังคับได้ตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เป็นต้นไป
                                                                                       

                       ลงชื่อ....................................................ผู้จัดทำข้อบังคับ
                                                                           (  นายสุภาพ  คลี่ขจาย  )


Powered by MakeWebEasy.com