Last updated: 14 May 2023 | 464 Views |
นายสุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ทางสมาคมและสมาชิกช่องทีวีดิจิทัลมีความเห็นตรงกันยืนยันหากยกเลิก “ประกาศเรียงช่องปี 58” จะทำให้อุตสาหกรรมเสียหายมหาศาล ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ชม ไม่ว่าจะเป็นการหาช่องที่ต้องการรับชมไม่เจอ , จำนวนผู้ช่องทีวีดิจิทัลลดลง
ขณะที่กสทช.ยังไม่สามารถหาแนวทางการแก้ปัญหาได้ตามกรอบเวลาที่รับปากไว้ จึงต้องประกาศจุดยืนและแนวทางการต่อสู้ในฐานะเป็นฝ่ายที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ “ตลอดช่วงเวลาที่ประมูลคลื่นทีวีดิจิทัลมา ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต้องเผชิญวิบากกรรมมาโดยตลอด ตั้งแต่ปัญหาการเมืองปี 2558, เศรษฐกิจหดตัว, สงครามการค้า และโควิด -19 ที่ส่งผลต่อเม็ดเงินโฆษณาให้ถดถอยมาโดยตลอด ซึ่งกรณีพิพาทครั้งนี้คืออีกหนึ่งวิบากกรรมของทีวีดิจิทัลเมืองไทย ที่ได้รับผลกระทบมหาศาล” สำ หรับจุดยืนสำคัญในกำรต่อสู้ของทีวีดิจิทัล คือ
1. การเป็นสื่อหลักเพื่อประโยชน์สาธารณะเมื่อการเปลี่ยนผ่านของทีวีภาคพื้นดินไม่เป็นไปตาแผนงานคงไว้ซึ่ง ประกาศ “must carry” ปี 2555 และ ประกาศ “เรียงช่อง” ปี 2558 ให้โครงข่ายการรับชมอื่นๆ ทั้งทีวีดาวเทียม และ เคเบิลทีวี นำช่องรายการของทีวีดิจิทัลไปออกอากาศตรงตามหมายเลขการประมูล ถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งในการ “ชดเชย” และ “ทดเแทน” โครงข่ายภาคพื้นดิน เพื่อไม่ให้เกิดความโกลาหลที่คนดูหาช่องไม่เจอซ้ำรอยในอดีตที่นับเป็นความเสียหายต่ออุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก
2.ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีระบบดิจิทัล ทำให้ไม่มีผู้เสียหายจากการเรียงช่อง มีแต่ผู้แสวงประโยชน์จาการยกเลิก “ประกาศเรียงช่อง” เนื่องจากปัจจุบันการใช้คลื่นความถี่ในโครงข่ายของทีวีดาวเทียมและ เคเบิลทีวี เป็นไปอย่างไม่จำกัด และสามารถจัดรูปแบบการเรียงช่องเป็นหมวดหมู่เพื่อบริการผู้ชมที่เป็นสมาชิกตามความต้องการของผู้ประกอบการแต่ละราย
3. ทีวีดิจิทัลซึ่งเป็นสื่อหลักของชาติ “การเรียงช่อง” ตามลำดับหมายเลขการประมูลให้ตรงกันทั้งประเทศ ในทุกโครงข่ายทุกช่องทางการรับชม เป็นความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรม เพราะเป็นเงื่อนไขหลักที่ผู้ประกอบการทุ่มเงินประมูลเพื่อสิทธิ์ในการเลือกหมายเลขช่องเพื่อง่ายต่อการเข้าถึงของผู้ชม และต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลในการทำการตลาดเพื่อสื่อสารกับผู้ชมจนเกิดการจดจำ “หากศาลยืนคำพิพากษาตามศาลชั้นต้น จะก่อให้เกิดสุญญากาศสำหรับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลทันทีลำดับช่องรายการไม่เป็นไปตามเดิม ผู้ชมสับสน หาช่องเดิมไม่เจอ เป็นโอกาสของเทคโนโลยีการรับชมใหม่ทางออนไลน์อย่าง OTT ที่เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยี 5G จะเกิดความเสียหายมหาศาลเกินกว่าจะเยียวยาได้ และอาจถึงจุดล่มสลายของทีวีดิจิทัล สื่อหลักของชาติในที่สุด”
4. การ “ประกาศเรียงช่อง ปี 2558” คือหัวใจสำคัญในการประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัล และเป็นหัวใจในการเข้าถึงสื่อสาธารณะของผู้ชมทีวี หากต้องมีการเปลี่ยนแปลงประกาศเรียงช่องปี 2558 ซึ่งจะเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลยื่นฟ้อง กสทช.ต่อศาลปกครองอีกครั้งในฐานะที่ก่อให้เกิดความเสียหายและไม่เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น ท้ายที่สุดหากไม่สามารถยุติและเกิดความชอบธรรมได้ ทางสมาคมอาจจะต้องทำหนังสือเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีในการเรียกร้องขอความเป็นธรรม ซึ่งสมาคมและผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลดำเนินงานภายใต้การกำกับของ กสทช.อยู่ ดังนั้นสิ่งที่ทางสมาคมให้ความสำคัญคือการเคารพองค์กรที่กำกับเราอยู่ แต่หาก กสทช.ควบคุมไม่ได้ทางสมาคมก็ต้องแสวงหาความชอบธรรมจากองค์กรอื่นต่อไป
ขอขอบคุณ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,601 วันที่ 16 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563